วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สารสนเทศการศึกษา

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน
คำว่า สารสนเทศ นี้ ทางวงการคอมพิวเตอร์ใช้กันมานานแล้ว ในความหมายตรงกับ คำภาษาอังกฤษว่า Information สำหรับวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดนั้น ได้เลือกใช้คำอีกคำหนึ่ง คือ สารนิเทศ มาเป็นเวลานานแล้วเช่นกัน คำทั้งสองนี้ มีผู้นำมาใช้ ตั้งเป็นชื่อหน่วยงานต่างๆ มากจนยากเกินกว่าที่จะเปลี่ยน ให้เหลือเพียงคำเดียวเท่านั้น อาทิ สำนักงานสารนิเทศ ศูนย์สารสนเทศ ดังนั้น ต่อมาคณะกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ ของราชบัณฑิตยสถาน ก็ได้เก็บคำทั้งสองนี้ ไว้เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า information ด้วยกันทั้งคู่
ทัศนะทางด้านคอมพิวเตอร์นั้น เราเห็นว่า ข้อมูล คือตัวแทนของ โลกแห่งความเป็นจริง ตัวแทนที่แสดง ความเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากร ของหน่วยงานแห่งหนึ่งก็คือ รายละเอียดอันเป็น ข้อความ ตัวเลข และภาพ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่เป็นพนักงานของหน่วยงานนั้น รายละเอียดนั้น จะมีมากน้อยเพียงใด ก็สุดแล้วแต่ว่า จะใช้แสดงเรื่อง ของบุคคลเหล่านั้น ได้ครบถ้วนสมบูรณ์เพียงใด เช่น ข้อมูลบุคลากร โดยทั่วไปอาจจะไม่มี เรื่องเกี่ยวกับ สีของตา สีของผม หรือตำหนิบนร่างกาย แต่ข้อมูลของ ผู้ที่ต้องการขออนุญาต มีหนังสือเดินทาง จะต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย ก็อาจจะต้องมีรายการที่เกี่ยวกับ น้ำหนัก ส่วนสูง กลุ่มเลือด ความดันโลหิต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องอะไร หรือในด้านใด สิ่งที่สำคัญที่สุด ประการแรกก็คือ ข้อมูล สมบูรณ์ มากพอ ที่จะใช้อธิบายเรื่องนั้น ได้ครบถ้วนและ ถูกต้อง ข้อมูลโดยทั่วไปนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก แม้ว่าข้อมูลทุกรายการ จะมีความจำเป็น แต่ถ้าหากเราให้ข้อมูล ทุกรายการแก่ผู้รับ ก็ยังอาจจะทำให้ผู้รับ เกิดความสับสนได้ง่าย ยกตัวอย่าง เช่นถ้าหากนายแพทย์ ให้ข้อมูลทุกรายการ เกี่ยวกับผู้มาตรวจสุขภาพ โดยบอกตัวเลขเช่น ความดันโลหิต ชีพจร ระดับคลอเรสเตอรัล ระดับไตรกลีเซอไรน์ ระดับน้ำตาล ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ ก็อาจจะไม่มีความหมายใดๆ ต่อผู้รับมากนัก สู้บอกง่ายๆว่า "คุณมีสุขภาพแข็งแรง เป็นปกติดี" ไม่ได้ ข้อความที่นายแพทย์ แจ้งแก่ผู้มาตรวจสุขภาพ แบบนี้แหละ ที่ทางวงการคอมพิวเตอร์เรียกว่า สารสนเทศ
หริอ information
พิจารณาในแง่นี้ สารสนเทศ ก็คือ ผลสรุปที่ได้จาก การนำข้อมูลมาประมวล ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสรุปทางสถิติ การเปรียบเทียบ การจำแนก หรือ จัดกลุ่ม ฯลฯ อย่างในกรณีของ ข้อมูลการตรวจสุขภาพนั้น สารสนเทศที่นายแพทย์ แจ้งแก่ผู้ตรวจสุขภาพนั้น ได้มาจากการที่นายแพทย์ เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขต่างๆ กับค่าเฉลี่ย ที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว ในวงการแพทย์ หากผู้ที่ไม่ใช่นายแพทย์ ได้รับข้อมูลตัวเลขเหล่านั้นไป และผู้นั้น ไม่มีความรู้อะไรเลย เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยเหล่านี้ ผู้นั้นก็ย่อมไม่สามารถหาข้อสรุปเป็น สารสนเทศ ที่ถูกต้องได้ จากที่กล่าวมานี้ ทางวงการคอมพิวเตอร์จึงถือว่า ระบบสารสนเทศ คือระบบจัดเก็บข้อมูล ในด้านต่างๆ เอาไว้ แล้วนำข้อมูลมาประมวล ให้เป็นสารสนเทศ เพื่อส่งให้ผู้ใช้ ระบบสารสนเทศที่รู้จักกันดีก็คือ ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ (Management Information System หรือ MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร (Executive Information System หรือ EIS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System หรือ DSS) ระบบเหล่านี้นิยมพัฒนา และใช้กันมาก ในวงการบริหารจัดการ ทั้งทางภาคธุรกิจ และเอกชน
ในงานวิจัยนั้น ระบบสารสนเทศ ที่ใช้กันมากนั้น ไม่ใช่ระบบที่กล่าวถึงชื่อมาแล้วข้างต้น แต่เป็นระบบที่เก็บข้อมูล ที่เกี่ยวกับ ข่าว หนังสือ วารสาร บทความวิจัย รายงานวิจัย ตลอดจนข้อมูลวิจัยอื่นๆ สำหรับให้ผู้ที่สนใจ สืบค้นหาเรื่องที่ตนต้องการทราบ
ไม่ว่าจะเป็นระบบสารสนเทศ สำหรับวงการบริหารจัดการ หรือ ระบบสารสนเทศเพื่องานวิจัย ความคล้ายคลึงกัน ประการหนึ่งก็คือ ระบบทั้งสองแบบนั้น ต่างก็มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือ จัดทำสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ ข้อที่ควรทราบอีกประการหนึ่งก็คือ สารสนเทศ นั้น ยังไม่ใช่ผลสรุปสุดท้ายที่ตายตัว อาจเป็นไปได้ที่ หลังจากนายแพทย์ พิจารณาตัวเลข คลอเรสเตอรัลแล้ว บอกผู้มาตรวจสุขภาพว่าเป็นปกติ เพราะค่าที่วัด อยู่ภายในระดับปกตินั้น ไม่ช้าไม่นาน ผู้มาตรวจสุขภาพรายนั้น อาจมีอันเป็นไป เพราะไขมันอุดหลอดเลือดหัวใจก็ได้ หากเกิดเรื่อง เช่นนี้บ่อยครั้ง วงการแพทย์ก็อาจจะต้อง ศึกษาสารสนเทศเหล่านี้มากขึ้นๆ จนกระทั่งได้ข้อสรุปขั้นสุดท้าย เป็น ความรู้ (Knowledge)
นักคิดทางด้านคอมพิวเตอร์หลายคน มองเห็นว่า ความรู้ ก็ยังไม่ใช่ที่สุด ของสิ่งที่จะได้รับจากข้อมูล ดังนั้นจึงสรุปว่า หลังจากที่มนุษย์เรา ได้รับความรู้ในด้านต่างๆ มากขึ้นๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว ก็จะเกิด ผลสรุปขั้นสุดท้ายเป็น ปัญญา (Wisdom)

ประโยชน์
1.ช่วยในการค้นหาข้อมูล
2.ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
3.ช่วยให้การเรียนการสอนมีความสะดวกสบายมากขึ้น
4.ช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล

คำถาม
1.สารสนเทศ คืออะไร
2.คำว่า "สารสนเทศ" มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่าอะไร
3.ข้อมูลสารสนเทศ คืออะไร
4.สารสนเทศมีประโยชน์อย่างไรในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ที่มา ที่มา: http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138
http://www.thaiall.com/mis/indexo.html
http://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีการศึกษา
http://www.nectec.or.th/hrd/schoolnet.php
http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/intro2htmlhttp://student.nu.ac.th/fon/tecnomean.htm
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
http://www.onec.go.th/publication/4014003/index.htm
http://www.school.net.th/library/snet1/network/it/index.ht
http://www.csjoy.com/story/net/tne.htm

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา คืออะไร

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

เทคโนโลยีการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกัน คือ
1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น

ที่มา http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc